เรียนต่อต่างประเทศกับ GoUni

วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบริการเสริมต่างๆของทาง VFS UK









1. Priority Visa Service บริการขอวีซ่าแบบด่วน 3-5 วันทำการ (ในสถานการณ์ปกติ)

ประเภทวีซ่าที่ใช้บริการได้ : Business Visitor, General Visitor, Tier 1, 2, 4 Visa

หมายเหตุ บุคคลที่มีสิทธิ์ขอวีซ่าแบบเร่งด่วนประเภท General Visitor จะต้องเคยเดินทางเข้าประเทศ สหรัฐอเมริกา หรือ แคนาดา หรือ ออสเตรเลีย หรือ นิวซีแลนด์ หรือ กลุ่มประเทศเชงเก้น ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ก็สามารถขอวีซ่าแบบด่วนได้

ค่าธรรมเนียม 100 ปอนด์ หรือประมาณ 5600 บาท

2. Prime Time Appointment Service  บริการยื่นเอกสารขอวีซ่าในวันเสาร์

ค่าธรรมเนียม 2800 บาท

3. Passport Pass Back Service บริการขอหนังสือเดินทางไปใช้ในระหว่างการพิจารณาวีซ่า

ประเภทวีซ่าที่ใช้บริการได้ : General Visitor

เงื่อนไข : ต้องส่ง หนังสือเดินทางไปให้ทาง VFS ภายใน 10 วันทำการหลังจากยื่นเอกสาร และต้องยื่นสำเนาหน้าหนังสือเดินทางทั้งเล่มตอนที่ยื่นเอกสารขอวีซ่า

ค่าธรรมเนียม 40 ปอนด์ หรือประมาณ 2200 บาท

4. VIP Premium Lounge Service บริการห้องรับรองพิเศษสำหรับผู้ยื่นขอวีซ่า

สิทธิพิเศษที่จะได้รับ : 
  • ไม่ต้องรอคิว
  • สะดวกสบายและเป็นส่วนตัว
  • ได้รับการดูแลเป็นพิเศษในระหว่างการบันทึกข้อมูลทางกายภาพ
  • ฟรีเครื่องดื่มและอาหารว่าง
  • ฟรีค่าไปรษณีย์ส่งหนังสือเดินทางกลับ
  • ฟรีค่าสำเนาเอกสาร (สูงสุด 50 หน้า)
  • ฟรีค่าถ่ายรูปลงใบสมัคร
  • ฟรีค่าข้อความและอีเมล์เตือน
ค่าธรรมเนียม 3,000 บาท

**หมายเหตุ** ราคาที่โชว์เป็นราคา ณ วันที่ 26 September 2014 โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โปรดตรวจสอบอีกครั้งที่นี่


------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-967-7003, 098-825-9840 หรือ info@gouni.co.th
Website: www.gouni.co.th

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

อยากเรียน Finance แต่คุณสมบัติเราเรียนได้ไหม?

สาขาวิชายอดฮิตอีกหนึ่งสาขาคือ วิชาการเงิน

จากในอดีตที่หลายๆคนใช้ตลาดการเงินเป็นแหล่งทำเงิน แต่ก็ขาดทุนย่อยยับกลับมาหลายรายเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการลงทุน แต่ในปัจจุบันคนไทยหลายๆคนมีความตื่นตัวทางด้านการเงินกันมากขึ้น ทั้งภาครัฐที่เริ่มใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์โดยเน้นให้คนนำเงินมาลงทุนไว้กับตลาดการเงินต่างๆ เพื่อการออม จึงมีหลายคนที่อยากเรียนต่อทางด้านการเงินเพื่อนำมาประกอบวิชาชีพต่อไปในอนาคต

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือคุณสมบัติของผู้เรียน เนื่องจากวิชาการเงินมีความเกี่ยวข้องกับวิชาบัญชี, เศรษฐศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ดังนั้นผู้เรียนที่ไม่เคยมีพื้นฐานทางด้านเหล่านี้มาก่อนอาจขาดคุณสมบัติในการสมัครเรียน เว้นแต่ว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษเปิดสอนหลักสูตรสำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเงินให้โดยเฉพาะ

เรามาดูคุณสมบัติในแต่ละสาขาวิชากันครับ

Course
Requirement
GMAT
Finance
Degree in Accounting, Finance, Economics, Business
No
Investment
Degree in Finance, Economics, Business, Science or Engineering
No
Financial Engineering
Degree in Mathematics, Science or Engineering
Maybe
Financial Mathematics
Degree in Mathematics, Science or Engineering
Maybe
Actuarial Science
Degree in Mathematics, Statistics or Economics
No

หมายเหตุ ตารางข้างต้นบอกคุณสมบัติคร่าวๆ ซึ่งในแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย

วิชาการเงินเกี่ยวข้องกับตัวเลขโดยตรง แต่ระดับในการใช้คณิตศาสตร์ของแต่ละสาขาแตกต่างกัน สำหรับวิชาการเงิน (Finance) หรือวิชาการลงทุน (Investment) ควรจะต้องมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์พอสมควร เพราะเราจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านงบการเงิน และสูตรคณิตศาสตร์ทางด้านการเงินต่างๆ รวมถึงวิธีการอ่านกราฟอีกด้วย 

ถ้าเป็นวิชาวิศวะการเงิน (Financial Engineering) หรือ คณิตศาสตร์การเงิน (Financial Mathematics) จำเป็นที่จะต้องเรียนจบด้านวิศวกรรม, คณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ มาเท่านั้น เนื่องจากเราจะต้องเรียนเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ในระดับสูง ในขณะเดียวกันสาขาวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Science) ก็แทบจะไม่แตกต่างกัน แต่ระดับในการใช้ความรู้ทางด้านตัวเลขจะเป็นไปในเชิงสถิติมากกว่า


ได้ทราบดังนี้แล้ว หวังว่าจะช่วยให้หลายๆ คนที่กำลังดูอยู่ว่าจะเลือกเรียนทางด้านการเงิน ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะครับ ^__^

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-967-7003, 098-825-9840 หรือ info@gouni.co.th
Website: www.gouni.co.th

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

เตรียมบัญชีสำหรับขอวีซ่านักเรียนประเภท TIER 4 ทำอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังงงๆ กับวิธีการเตรียมเงินในบัญชีเพื่อขอวีซ่าไปเรียนต่อที่อังกฤษ ว่าทำอย่างไรวีซ่าถึงจะผ่าน ที่นี่มีคำตอบครับ

หลักเกณฑ์สำคัญ

1. จำนวนเงินต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการไปเรียนตลอดระยะเวลา 1 ปีแรก
2. จำนวนเงินดังกล่าวจะต้องฝากไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 28 วัน
3. ต้องเป็นชื่อบัญชีของนักเรียนหรือผู้ปกครอง (คุณพ่อหรือคุณแม่) เท่านั้น หรือจะเป็นบัญชีร่วมของนักเรียนกับบุคคลอื่น ก็ใช้ได้
4. ประเภทบัญชีที่ใช้ได้คือ ออมทรัพย์หรือฝากประจำ เท่านั้น
5. ต้องให้ธนาคารออกจดหมายรับรองเงินเป็นสกุลเงินปอนด์


แล้วเงินที่ต้องฝากขั้นต่ำ จะเป็นจำนวนเท่าไหร่ล่ะ

1. ค่าเทอม
ถ้าเรียนระดับปริญญาคือค่าเทอม 1 ปี หรือ ปีแรก (กรณีที่เรียนมากกว่า 1 ปี)
ถ้าเรียนหลักสูตรภาษาก่อน (Pre Sessional) คือ ค่าเรียนภาษาทั้งหลักสูตร

ในกรณีที่สอบได้คะแนนผ่านเข้าไปเรียนระดับปริญญาได้แล้ว (unconditional offer) แต่ลงเรียนหลักสูตรภาษาเพิ่ม ก็ต้องนำค่าเทอมทั้งหมดมารวมกัน

2. ค่าครองชีพ

ถ้าเรียนในลอนดอน (โซน 1-2) ต้องเตรียมเงิน 1,020 ปอนด์ ต่อเดือน
ถ้าเรียนนอกลอนดอนและลอนดอนโซน 3 ขึ้นไป ต้องเตรียมเงิน 820 ปอนด์ ต่อเดือน

ในกรณีที่สอบได้คะแนนผ่านเข้าไปเรียนระดับปริญญาได้แล้ว (unconditional offer) ให้เตรียมเงินค่าครองชีพไว้ 9 เดือน (ไม่จำเป็นต้องถึง 1 ปี)

หมายเหตุ ถ้าหากมีการชำระค่าเทอม หรือ ค่าที่พักไปบางส่วน สามารถนำมาหักออกจากบัญชีนี้ได้

ตัวอย่างการคำนวณเงิน

1. นาย ก ได้ไปเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยลอนดอนในโซน 1 ค่าเรียน 15,000 ปอนด์ต่อปี เงินที่นาย ก จะต้องเตรียมก็คือ 15,000 + (1020 x 9) = 24,180 ปอนด์

แต่นาย ก ชำระค่ามัดจำค่าเรียนไปแล้ว 1,000 ปอนด์ ดังนั้น นาย ก สามารถนำไปหักกับจำนวนเงินที่ต้องเตรียมเอาไว้ได้ จำนวนเงินที่ต้องเตรียมคือ 24,180 - 1,000 = 23,180 ปอนด์ 

2. นาย ข ต้องไปเรียนหลักสูตรภาษาก่อนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ทั้งหมด 3 เดือน ค่าเรียน 4,000 ปอนด์ เงินที่นาย ข ต้องเตรียมคือ 4,000 + (820 x 3) = 6,460 ปอนด์

นาย ข ชำระค่าเรียนภาษาไปเต็มจำนวนแล้ว ดังนั้นจำนวนเงินที่นาย ข ต้องเตรียมคือ 820 x 3 = 2,460 ปอนด์เท่านั้น

3. นาย ค ไปเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยลอนดอนในโซน 4 ค่าเรียน 12,000 ปอนด์ต่อปี นาย ค สอบผ่านแล้วแต่อยากไปเรียนภาษาเพื่อปรับตัว 2 เดือน ค่าเรียน 2,000 ปอนด์ เงินที่นาย ค จะต้องเตรียมคือ 12,000 + 2,000 + (820 x 9) = 21,380 ปอนด์

แต่นาย ค ได้มีการชำระค่ามัดจำค่าเรียนปริญญาโทไป 3,000 ปอนด์ และค่ามัดจำเรียนภาษาและค่าหอไป 1,000 ปอนด์ และ 400 ปอนด์ตามลำดับ 

จำนวนเงินที่นาย ค จะต้องมีในบัญชีคิดได้ดังนี้

ค่าเรียนปริญญาโท 12,000 - 3,000 = 9,000 ปอนด์
ค่าเรียนภาษา 2,000 - 1,000 = 1,000 ปอนด์
ค่าครองชีพ (820 x 9) - 400 = 6,980 ปอนด์

ดังนั้นเงินขั้นต่ำที่นาย ค จะต้องฝากไว้ คือ 9,000 + 1,000 + 6,980 = 16,980 ปอนด์


เรื่องสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ ระยะเวลาในการฝากเงิน 

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นวิธีการนับวันว่าเงินครบ 28 วันหรือไม่ โดยต้องการจำนวนเงิน 1 ล้านบาท

ตัวอย่างที่ 1

วันที่
ถอน
ฝาก
คงเหลือ
01/08/2557

1,000,000
1,000,000
12/08/2557

50,000
1,050,000
13/08/2557
20,000

1,030,000
28/08/2557

10,000
1,040,000
มีเงิน 1,000,000 บาท ครบ 28 วัน

ตัวอย่างที่ 2

วันที่
ถอน
ฝาก
คงเหลือ
01/08/2557

1,000,000
1,000,000
12/08/2557

50,000
1,050,000
13/08/2557

200,000
1,250,000
28/08/2557

150,000
1,400,000
มีเงิน 1,000,000 บาท ครบ 28 วัน

ตัวอย่างที่ 3

วันที่
ถอน
ฝาก
คงเหลือ
01/08/2557

1,000,000
1,000,000
12/08/2557

50,000
1,050,000
13/08/2557
200,000

850,000
28/08/2557

150,000
1,000,000
มีเงินแค่ 850, 000 บาท ครบ 28 วัน (บัญชีนี้ใช้ไม่ได้)

ตัวอย่างที่ 4

วันที่
ถอน
ฝาก
คงเหลือ
01/08/2557

700,000
700,000
12/08/2557

100,000
800,000
13/08/2557

200,000
1,000,000
28/08/2557

100,000
1,100,000
มีเงินแค่ 700,000 บาท ครบ 28 วัน (บัญชีนี้ใช้ไม่ได้)


ข้อแนะนำ

ถ้าหากที่บ้านมีเงินฝากประจำ หรือมีเงินเย็นอยู่แล้วไม่ได้นำไปลงทุน หรือหมุนเวียนในกิจการใดๆ ทางเราแนะนำให้ฝากเงินเข้าบัญชีของนักเรียนไปเลยตั้งแต่ต้นปี จำนวนเงินที่ฝากอย่างต่ำ 1.5 ล้านบาทสำหรับคนที่เรียนนอกลอนดอน และ 2 ล้านบาทสำหรับคนที่เรียนในลอนดอน

แล้วกลับมาพบกับบทความดีๆมีสาระได้ที่นี่กับ GoUni นะครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-967-7003, 098-825-9840 หรือ info@gouni.co.th
Website: www.gouni.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียน Marketing ด้านไหนดี?

เชื่อว่าหลายๆคน กำลังตัดสินใจว่าถ้าจะไปเรียนด้านการตลาด แต่ประเด็นคือสาขาการตลาดก็ยังมีแยกย่อยลงไปอีกหลายด้าน แล้วเราจะเลือกแบบไหนดีล่ะ เดี๋ยวเราจะไปดูความแตกต่างของแต่ละสาขากันครับ

ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้กันก่อนว่า Marketing หรือการตลาด คืออะไร

ขอบคุณภาพจาก http://www.prosoftcrm.in.th/

Dr. Philip Kotler ศาสตราจารย์ด้านการตลาดที่มีชื่อเสียงของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้นิยามของการตลาดว่า "การตลาด คือ กระบวนการทางสังคมและการจัดการที่ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับสิ่งที่ตอบสนองความจำเป็น (needs) และความต้องการ (wants) โดยอาศัยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น”


การเรียนการตลาดก็คือการเรียนวิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคมาซื้อสินค้าหรือบริการของเรานั่นเอง

โดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยต่างๆ ส่วนใหญ่จะเปิดสอนสาขาวิชาการตลาดในชื่อของ Marketing Management ซึ่งในหลายๆที่ ก็จะมีสาขาอื่นๆเพิ่มเติม อย่างเช่น Marketing Communications, Advertising and Marketing, Brand Management, Marketing Analytics หรือ Digital Marketing แล้วอย่างนี้จะเลือกเรียนอะไรดีล่ะ

สาขาวิชา
เรียนอะไรบ้าง
Marketing Management
เรียนภาพรวมทั้งหมดของการตลาด การวิเคราะห์ วางแผน และกลยุทธ์การตลาด
Marketing Communications
เรียนเรื่องการสื่อสารการตลาด ประชาสัมพันธ์ โฆษณา
Brand Management
เรียนเรื่องการสร้างตราสินค้า สร้างคาแรกเตอร์ให้ผุ้บริโภคได้รู้จัก
Marketing Analytics
เรียนเรื่องการวิจัยทางด้านการตลาด การใช้ตัวเลข สถิติในการวิเคราะห์เพื่อทำแผนการตลาด
Digital Marketing
เรียนวิธีการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

พอทราบอย่างนี้แล้ว หวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-967-7003, 098-825-9840 หรือ info@gouni.co.th
Website: www.gouni.co.th